ปลานิล ชื่อที่คุ้นหูของทุกคนเป็นอย่างดี แต่จากรายงานข่าวในช่วงนี้ ชื่อของ ปลานิลสายน้ำไหล คือ อะไร ก็กลายเป็นคำถามเด็ด ในช่วงนี้ขึ้นมา วันนี้เราจึงรวบรวมข้อมูลของเจ้าปลานิลที่ว่า มาให้แล้วไปดูกันได้เลย
ปลานิลสายน้ำไหล คือ 2567
“ปลานิล” ได้กลายเป็น “ปลาเศรษฐกิจ” ของไทยที่มีชื่อเสียง สร้างรายได้ สร้างอาชีพ อีกทั้งพบข้อมูลจากกรมประชาสัมพันธ์ ว่า ในปี 2560 ผลผลิตปลานิลจากการเพาะเลี้ยง มีปริมาณรวมกันมากถึง 185,902 ตัน และในปี 2561 จํานวนปลาที่ออกสู่ท้องตลาดเพิ่มขึ้นประมาณ 2% อยู่ที่ราว 189,254 ตัน โดยมีตลาดหลักคือกลุ่มประเทศ ตะวันออกกลางแบ่งออกเป็น 33.6 % สหรัฐอเมริกา 28.6 % กลุ่มประเทศสหภาพยุโรปอยู่ที่ประมาณ 24.9% กลุ่มอัฟริกา 2.7 % แคนาดา 2.5% และกลุ่มอาเซียนอยู่ที่ 2.5 % โดยเกาหลีใต้ 2.3% และประเทศอื่นๆ 2.9% มูลค่าการส่งออกยังเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ปลานิลสายน้ำไหล คือ ปลานิลที่ถูกเลี้ยงด้วยระบบสายน้ำไหลทำให้มีการหมุนเวียนของน้ำตลอดเวลา ไม่มีสาหร่าย ไม่มีดินตกค้างในบ่อ และมีออกซิเจนให้ปลาอย่างเพียงพอด้วยวิธีธรรมชาติ อุณหภูมิของสายน้ำจะคงที่ 25 องศาเซลเซียส โดยความลึกน้ำในบ่อควรอยู่ที่ 100-120 เซนติเมตร
โดย การเลี้ยงปลานิลระบบสายน้ำไหล เกิดจากต้นแบบ คุณสามารถ จงเกียรติขจร อายุ 41 ปี อยู่หมู่ที่ 2 ตำบลตาเนาะแมเราะ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ประกอบอาชีพประมงเลี้ยงปลานิลสายน้ำไหลระบบฟาร์ม คุณสามารถ เล่าว่า คุณพ่อมีอาชีพทำประมงตั้งแต่แรกเริ่มอยู่แล้ว แต่ด้วยเกิดเหตุทางธรรมชาติ น้ำป่า เมื่อปี พ.ศ. 2540 ทำให้บ่อปลาที่เลี้ยงไว้แตก จึงจำเป็นต้องหยุดเลี้ยงไปเป็นระยะเวลา 2 ปี
จากนั้นมีคนรู้จักแนะนำให้ลองเลี้ยงปลานิล เริ่มทดลองเลี้ยงปลาอีกครั้งในจำนวน 800 ตัว ด้วยระบบการเลี้ยงแบบสายน้ำไหล ปรากฏว่าผลผลิตปลานิลที่ได้ มีน้ำหนักที่ดี ตัวใหญ่ เนื้อแน่น กินสดๆ เป็นซาซิมิก็อร่อย หวาน ไม่เหม็นโคลน ไม่เหม็นคาว
รู้จัก อำเภอเบตง
อําเภอเบตง เป็นอําเภอที่มีขนาดใหญ่ของจังหวัดยะลา ตั้งอยู่อยู่ในแนวเทือกเขาสันกาลาคีรี ภูมิประเทศ ของอําเภอเบตงส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง จึงทําให้ทําให้ที่นี่มีอากาศเย็นและมีหมอกแทบตลอดทั้งปี ส่วนนี้นี่เองที่ทําให้ พื้นที่อําเภอเบตงมีความโดดเด่นในการทําเกษตรกรรม ทั้งการทําสวนผลไม้ สวนกาแฟ ยางพาราและการเลี้ยงปลา
การเลี้ยงปลานิลในสายน้าไหล
การจัดทําระบบน้ำจะใช้ท่อขนาดใหญ่ต่อน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีความสะอาดเย็นอุณหภูมิ ประมาณ 19-20 องศาเซลเซียส ต่อท่อที่ขนาดเล็กลงก่อนจะไหลลงกระทบผืนน้ำในบ่อเลี้ยงปลา ทําให้เกิด การเติมออกซิเจนลงไป และมีการระบายน้าออกจากบ่อสม่ำเสมอ โดยหมุนเวียนไปในบ่อเลี้ยงปลาบ่ออื่นๆ ที่จัดเรียงตัวลดหลั่นกันไปเป็นขั้นบันได
ก่อนจะลงในบ่อบําบัดเป็นบ่อสุดท้ายก่อนจะปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ ซึ่งจากการตรวจวัดค่าไนโตรเจนในน้ำพบว่าน้ำปลายทางคุณภาพแทบไม่ต่างจากต้นทาง เมื่อน้ำสะอาดปลาก็ สามารถเติบโตได้ดี ปริมาณปลาที่เลี้ยงมากเท่าใดก็ไม่ส่งผลกระทบ สามารถเลี้ยงในระบบหนาแน่นได้ แต่อยู่ใน อัตราที่ไม่มากเกินไป
โดยบ่อขนาด 40 ตารางเมตร ปล่อยปลา 13,000 ตัว ปลาเติบโตดี มีเนื้อเยอะ ไม่มีกลิ่น คาว ในขณะที่บ่อเลี้ยงปลาทั่วไปที่น้ำไม่มีการไหลเวียนและมีอุณหภูมิสูงทําให้เกิดสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินซึ่ง เมื่อปลากินสาหร่ายนี้เข้าไปทําให้เนื้อปลามีกลิ่น
รายละเอียดขั้นตอนและวิธีการของภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตร อุปกรณ์ในเลี้ยงปลานิลในสายน้ำไหล
1. พันธุ์ปลานิล
2. อาหารสําเร็จรูป
3. ระบบน้ําหมุนเวียน
4. บ่อเลี้ยงปลา
วิธีการเลี้ยงปลานิลในสายน้ำไหล
1. ทําฝายกักน้ําและใช้แหล่งน้ําธรรมชาติจากภูเขาถ่ายเทตลอด 24 ชั่วโมง
2. ระบบน้ําหมุนเวียนจะใช้ท่อขนาดใหญ่ต่อด้วยท่อเล็กลงสองระดับ เพิ่มให้น้ำาที่ไหลออกมามีความแรง
เพิ่มออกซิเจนในน้ำ และ เป็นการกระตุ้นให้ปลากินอาหารได้มากขึ้น การจัดทําระบบน้ําจะใช้ท่อขนาดใหญ่ต่อน้ำ จากแหล่งน้ําธรรมชาติที่มีความสะอาดเย็นอุณหภูมิประมาณ 19-20 องศาเซลเซียส ต่อท่อที่ขนาดเล็กลงก่อนจะ ไหลลงกระทบผืนน้ำในบ่อเลี้ยงปลา ทําให้เกิดการเติมออกซิเจนลงไป และมีการระบายน้ำออกจากบ่อสม่ำเสมอ โดย หมุนเวียนไปในบ่อเลี้ยงปลาบ่ออื่นๆ ที่จัดเรียงตัวลดหลั่นกันไปเป็นขั้นบันได ก่อนจะลงในบ่อบําบัดเป็นบ่อสุดท้าย ก่อนจะปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ
3. ปริมาณปลาที่เลี้ยงมากเท่าใดก็ไม่ส่งผลกระทบ สามารถเลี้ยงในระบบหนาแน่นได้ แต่อยู่ในอัตราที่ไม่ มากเกินไป โดยบ่อขนาด 40 ตารางเมตร ปล่อยปลา 13,000 ตัว
ปลาเติบโตดี มีเนื้อเยอะ ไม่มีกลิ่นคาว
4. ให้อาหารปลา วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น หรือให้ตามความเหมาะสม โดยพิจารณาจากน้ําหนักปลา การให้อาหารจะให้ 4-5 เปอร์เซ็นต์ ของน้ําหนักปลาแต่ละบ่อ
5. ใช้เวลาในการเลี้ยงประมาณ 6 – 8 เดือน ก็พร้อมจําหน่ายให้ลูกค้า
ราคาจําหน่าย
กิโลกรัมละ 90 – 100 บาท
การใช้ประโยชน์ของภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตร
1. ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP ของกรมประมง
2. หมู่บ้านปลาในสายน้ําไหล (Fillage) เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับเกษตรกรและผู้สนใจ
3. ปลาที่ไม่ได้น้ําหนักหรือตกไซส์ มีการนํามาแปรรูปเป็นปลานิลแดดเดียวและขลุ่ยปลานิล ออกจําหน่าย
เป็นสินค้า OTOP
4. เป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรกลุ่มผู้เลี้ยงปลา
5. มีตลาดการส่งออก โดยการแล่เนื้อปลา ผ่านกระบวนการแช่แข็งที่ทันสมัยและส่งออกไปยังตะวันออก กลางและฝรั่งเศส
6. อยู่ในขั้นตอนการยื่นขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) เพื่อให้ปลานิลในพื้นที่เชิงเขาสันกาลา คีรี เป็นที่รู้จักในระดับโลกต่อไป
7. และอีกมากมายที่ไม่ได้กล่าวถึง
ข้อมูล รายละเอียดผู้ให้ข้อมูลและผู้รวบรวมข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตร ผู้ให้ข้อมูลภูมิปัญญา : นายสันติชัย จงเกียรติขจร (วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงปลานิลสายน้ําไหล Betong 2020)
อ่านบทความอื่นๆ เพิ่มเติม คลิก