ปูอัด ทำมาจากอะไร อัปเดต 2567 ปูอัด คืออาหารยอดฮิตที่หาทานง่ายทั้งในและต่างประเทศ แต่จริงๆ แล้ว ปูอัด ไม่ได้ทำจากปูจริงๆ แต่ทำมาจากอะไร ไปดูกันได้เลย
ปูอัด ทำมาจากอะไร 2567 ปูอัด ทำจากปลาเนื้อขาว ซึ่งเป็นส่วนผสมหลัก โดยประกอบด้วยเนื้อปลาหลายชนิด เช่น ปลาเต๋า เสือปลา หรือปลากระพง
ซึ่งจะผสมกับสารเสริมรส และสารประกอบอื่น ๆ เช่น ไข่ น้ำตาล แป้ง และวัตถุกันเสีย เพื่อให้ได้รสชาติ สี และความเรียบเนียนตามมาตรฐานที่ต้องการ
หลังจากนั้นจะนำมาอัดรูปเป็นลูกชิ้นและตัดเป็นชิ้นยาวเหมือนกับขาปูจริง ๆ ด้วยเครื่องจักรพิเศษ จากนั้นนำไปต้มให้สุก และตามด้วยการหมักในน้ำเกลือ และสูตรส่วนผสมอื่น ๆ ตามข้อกำหนดของผู้ผลิต โดยทั่วไปมักจะมีความหวานน้อย และมีรสชาติเนื้อปูนิดหน่อย โดยเนื้อเหล่านี้จะถูกปรับสมดุลให้ได้รสชาติและความสดใหม่ที่เหมือนจริง
ทำไมถึงเรียกว่าปูอัด
MGR ONLINE ได้ให้ข้อมูลว่า ปูอัดนั้น ภาษาทางการเรียกว่า เนื้อปูเทียม การผลิตเนื้อปูเทียม เกิดจากความคิดที่ว่า ปลาที่จับได้ในปัจจุบันส่วนใหญ่มีขนาดเล็กถือว่าไม่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจเพราะผู้บริโภคไม่นิยมราคาจึงถูกมากประมาณร้อยละ 90 ของปลาขนาดเล็กหรือที่เรียกว่า ปลาเป็ดจะถูกนำไปทำเป็นปลาป่นสำหรับใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารสัตว์นับได้ว่าเป็นการใช้ทรัพยากรสัตว์น้ำอย่างไม่มีประสิทธิภาพและแล้วบริษัทแห่งหนึ่งในญี่ปุ่นก็คิดค้นนำปลาดังว่านี้มาทำเป็นเนื้อปูเทียมขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2518
โดยประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีศักยภาพในการทำประมง และมีบริษัทผลิตเนื้อปูเทียมมานานหลายปีแล้ว
ปลาที่ใช้ได้แก่ ปลาทรายแดง ปลาทรายขาว ปลาตาโต ปลาดาบ ปลากะพง ฯลฯวิธีทำเริ่มต้นจากการนำปลามาตัดหัว ควักไส้ทิ้งส่งเข้าเครื่องบีบเอาแต่เนื้อปลา นำปลาบดที่ได้มาผสมเครื่องปรุงจำพวกแป้งน้ำตาล เกลือ ผงชูรส และกลิ่นปูเสร็จแล้วนำไปทำให้สุกและทำให้เนื้อปลามีลักษณะเป็นเส้นเหมือนเนื้อปูจริง ๆ จากนั้นจึงอัดเป็นแท่งยาว ๆ แล้วตกแต่งสีให้ดูเหมือนเนื้อปูจริง ๆ บางบริษัทถึงกับอัดเนื้อปูเทียมเป็นรูปก้ามปู (ที่แกะเปลือกแล้ว) ดูน่ากิน
ประโยชน์ของปูอัด
เป็นอาหารโปรตีนที่ย่อยง่าย เนื่องจากปูอัดมีส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นเนื้อปลา อาจมีแป้งปนบ้าง มากน้อยตามคุณภาพ และราคา แต่ก็ยังมีส่วนประกอบหลักคือเนื้อปลา (ถ้าไม่ดวงจู๋ไปเจอแบบคุณภาพต่ำมาก ใส่แป้งมากมายนะครับ) เวลาเลือกซื้อก็ดูให้ดีๆ ปูอัดสามารถนำมาประกอบอาหารได้มากมาย แม้กระทั่งกินเล่นเป็นอาหารว่างสำหรับคนลดความอ้วนก็ยังได้ เพราะให้พลังงาน แท่งละ ประมาณ 30 กิโลแคลอรี่ เท่านั้น
วิธีการเลือกซื้อปูอัด
- ในภาชนะบรรจุเดียวกันต้องมีขนาดและรูปร่างใกล้เคียงกัน
- เนื้อปูอัดต้องไม่แตกหรือยุ่ยเละ
- เนื้อปูอัดสามารถแยกออกเป็นเส้นได้
- เนื้อปูอัดต้องมีสีขาว ส่วนที่เป็นผิวต้องมีสีสม่ำเสมอ
- ต้องมีกลิ่นรสปกติของปูอัด ไม่มีกลิ่นเหม็น หรือรสเปรี้ยว
ส่วนประกอบของปูอัด
ส่วนประกอบหลักของปูอัด คือ
- ซูริมิ (Surimi) ซึ่งทำมาจากปลาเนื้อสีขาวที่มีไขมันต่ำ ได้แก่ ปลาตาหวาน ปลาข้างเหลือง ปลาดาบ ปลากะพง ฯลฯ
- ปลาที่ใช้กันมากที่สุด คือ ปลาทรายแดง (ปลาอิโตโยริ) ปลาอลาสก้าพอลล็อค (Alaska Pollock)
ส่วนประกอบอื่นๆ ที่ใช้ผสมเพื่อทำปูอัด คือ น้ำ แป้งสาลี แป้งมันสำปะหลัง ไข่ขาว น้ำมันถั่วเหลือง เกลือ น้ำตาล ซอร์บิทอล (สารให้ความหวาน) โปรตีนจากถั่วเหลือง สารสกัดจากปู กลิ่นปู รสปู ส่วนผสมอาจแตกต่างไปบ้างตามสูตรของแต่ละเจ้า - วิธีทำ เริ่มจากการนำปลามาตัดหัว ควักไส้ทิ้ง ส่งเข้าเครื่องบีบ รีดเอาแต่เนื้อปลาออกมา แล้วผสมกับ แป้ง น้ำตาล เกลือ ผงชูรส และกลิ่นปู เสร็จแล้วนำไปทำให้สุก และผ่านกระบวนการที่ทำให้เนื้อปลามีลักษณะเป็นเส้นเหมือนเนื้อปูจริงๆ แล้วอัดเป็นแท่งยาวๆ ตกแต่งสีให้ดูเหมือนเนื้อปู ก็เป็นอันเรียบร้อย
- ปลาที่จับได้ในปัจจุบันส่วนใหญ่นั้นจะมีขนาดเล็กมาก (เรียกรวมๆ ว่า ปลาเป็ด ) ขายไม่ได้ราคา จึงทำให้ 90% ของปลาเป็ด จะถูกนำไปทำเป็นปลาป่นสำหรับใช้ผลิตอาหารสัตว์ ต่อมามีบริษัทในญี่ปุ่นได้คิดค้นวิธีการนำปลาเป็ด มาทำเป็นเนื้อปูเทียมขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2518
- ไทยเราเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการทำประมงมิใช่น้อย และมีโรงงานผลิตปูอัดมานานหลายปีแล้ว ปลาที่ใช้ได้แก่ ปลาทรายแดง ปลาทรายขาว ปลาตาโต และ ปลาดาบ
พลังงานจากปูอัด
ปูอัด 85 กรัม จะให้พลังงาน 81 แคลอรี่ และมีคุณค่าทางโภชนาการของปูอัดมีดังนี้
- ไขมัน 0.4 กรัม
- คาร์โบไฮเดรตทั้งหมด 12.7 กรัม
- โปรตีน 6.5 กรัม
- คอเลสเตอรอล 17 มิลลิกรัม
- โซเดียม 715 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 12 8% ของปริมาณวิตามินบี 12 ที่ควรได้รับต่อวัน
- แมกนีเซียม 9% ของปริมาณแมกนีเซียมที่ควรได้รับต่อวัน
- ฟอสฟอรัส 24% ของปริมาณฟอสฟอรัสที่ควรได้รับต่อวัน
- ซิงก์ 2% ของปริมาณซิงก์ที่ควรได้รับต่อวัน
- คอปเปอร์ 1% ของปริมาณคอปเปอร์ที่ควรได้รับต่อวัน
- ซีลีเนียม 27% ของปริมาณซีลีเนียมที่ควรได้รับต่อวัน