Romance Scam แก๊งหลอกรักออนไลน์ เตือนภัยครั้งใหม่ที่ใช้ความรักเอามาหลอกให้คุณยอมโอนง่ายมากกว่าเดิม วันนี้เรามาทำความรู้จักในเรื่องนี้กัน
Romance Scam แก๊งหลอกรักออนไลน์ 2567
กรมประชาสัมพันธ์ เผยข้อมูลแก๊งมิจฉาชีพเหล่านี้ ดังนี้ Romance Scam คือ การหลอกให้หลงรัก หลอกให้เชื่อใจ นำไปสู่การสูญเสียทรัพย์สินมากมายโดยไม่ทันระวังตัว ซึ่งสามารถสังเกตได้จากพล็อตเรื่องยอดฮิตที่ใช้หลอกกันซ้ำ ๆ ดังนี้
การที่มิจฉาชีพจะหลอกให้เหยื่อหลงรักเชื่อใจ หลอกถึงเรื่องการแต่งงานการอยู่ด้วยกันตลอดไปและใช้ความรักความเชื่อใจหรือความหวังของเหยื่อเพื่อแสวงหาประโยชน์ โดยหลอกให้โอนเงินหรือทรัพย์สินอื่นไปให้กับมิจฉาชีพโดยใช้วิธีอ้างถึงปัญหาการเงินหรือชวนลงทุนต่างๆ
ซึ่งมิจฉาชีพเหล่านี้จะหลอกโดยการสร้างโปรไฟล์ปลอมขึ้นในโซเชียลมีเดียหรือแอพพลิเคชั่นหาคู่ต่างๆ โดยจะใช้รูปปลอมซึ่งแสดงถึงภาพลักษณ์ที่ดูดีและมีความน่าสนใจเพื่อดึงดูดให้เหยื่อหลงเชื่อและด้วยสภาผู้บริโภคเคยได้รับเรื่องร้องเรียนในลักษณะนี้ด้วยกันหลายกรณี
เช่นกรณีผู้เสียหายได้รู้จักมิจฉาชีพผ่านแอพลิเคชั่นหาคู่มีการพูดคุยเพื่อสานความสัมพันธ์และนัดพบเจอกันต่อมาทางมิจฉาชีพได้หลอกให้ผู้เสียหายลงทุนออนไลน์ซึ่งส่งผลให้สูญเงินเป็นจำนวนมาก
เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค สภาผู้บริโภคจึงลงเป็นข้อมูลเตือนภัยแก่ผู้บริโภคให้ระมัดระวังชายหนุ่มหรือหญิงสาวที่มีการติดต่อหรือพบรักผ่านช่องทางออนไลน์ เพราะท่านอาจจะตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพได้
โดยแก๊งมิจฉาชีพจะมีวิธีหลอกให้รักดังนี้
- ใช้รูปภาพของบุคคลอื่นที่มีการแต่งกายที่ดูดี ภูมิฐาน หรือภาพคนในเครื่องแบบ เช่น ทหาร แพทย์ นักธุรกิจ
- เข้าหาเหยื่อที่มีสถานะโสด อยู่คนเดียว หรืออาจจะเป็นคนที่เคยแต่งงานมาแล้ว แต่เป็นหม้าย หรือหย่าร้าง
- พูดจาหว่านล้อมด้วยคำพูดหวานๆ หลอกว่าตัวเองมีอาชีพการงานที่ดี จะซื้อของแพง ๆ ให้ หลอกว่าตัวเองหรือครอบครัวล้มป่วย
- หลอกให้รักแล้วชวนลงทุนผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ปลอม ด้วยการโอนเงินหรือลงทุนในรูปแบบสินทรัพย์ดิจิทัล
- หลอกว่าจะมาแต่งงานที่เมืองไทย ส่งทรัพย์สินมาให้แต่ต้องชำระค่าภาษีก่อน
- หลอกว่าตัวเองหรือญาติป่วยแต่ประกันยังเบิกจ่ายไม่ได้
- หลอกว่าได้รับมรดกเป็นเงินมหาศาลแต่ต้องชำระภาษี
- หลอกว่าส่งสิ่งของราคาแพงมาให้แต่ติดอยู่ที่ด่านต้องจ่ายค่าธรรมเนียมก่อน
- หลอกว่าเป็นนักธุรกิจที่จะเข้ามาลงทุนในไทยและต้องการให้ร่วมทุนด้วย
การหลอกให้รักแล้วโอน มีดังนี้
- หลอกให้รักแล้วโอนเงิน (Romance scam) ด้วยการสร้างเรื่องราวต่างๆ ที่ให้ความหวังหรือน่าเห็นใจ
- หลอกให้รักแล้วชวนลงทุน (Hybrid scam) ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ปลอมด้วยการโอนเงินหรือลงทุนในรูปแบบสินทรัพย์ดิจิทัล
- หลอกให้รักแล้วกดลิงก์/ดาวน์โหลดแอปรีโมท (Remote access scam) ควบคุมสมาร์ทโฟนและทำการดูดเงินในบัญชี
- หลอกให้รักแล้วแบล็คเมล์ (Sextortion) ขู่กรรโชกทางเพศ ด้วยการชวนทำกิจกรรมทางเพศผ่านทางออนไลน์ แล้วนำภาพหรือวิดีโอมาขู่เรียกค่าไถ่ หรือบีบบังคับให้กระทำการอื่นๆ
ข้อสังเกตุแก๊งหลอกให้รัก
- ใช้รูปโปรไฟล์ของคนหน้าตาดี
มิจฉาชีพมักจะสร้างตัวตนปลอม โดยใช้รูปโปรไฟล์ที่หน้าดึงดูด คุยเก่งอัธยาศัยดี มีประวัติที่น่าสนใจ เราจึงควรตรวจสอบ ยืนยันตัวบุคคลที่เราคุยด้วยทางแพลตฟอร์มออนไลน์ให้ชัดเจนในหลากหลายช่องทาง ระลึกไว้เสมอว่า ไฟล์เอกสารยืนยันตัวตนที่ส่งมา หรือเว็บไซต์บริษัทหรือหน่วยงานที่ปรากฏชื่อคนที่เราคุยด้วยอาจถูกปลอมแปลงขึ้นมาอีกที
ทั้งนี้หากมีการขอให้เปลี่ยนช่องทางในการคุย โดยการแนะนำให้ดาว์นโหลดแอปพลิเคชัน หรือกดลิงค์ไม่ทราบที่มาที่ไปชัดเจน ห้ามกดเด็ดขาด เพราะอาจเป็นแอปรีโมทที่สามารถดูดเงินให้บัญชีของเราได้
- หลอกขายฝัน
มิจฉาชีพมักจะแสร้งว่ามีความรักความปรารถนาดีให้ และทำการแนะนำให้ทำการลงทุนเพื่อสร้างความมั่นคงในชีวิต หรือหลอกว่าจะมาใช้ชีวิตหรืออนาคตด้วยกัน
ดังนั้นหากคนที่กำลังคุยทางออนไลน์มีการชักชวนให้ทำการลงทุนผ่านแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ หรือขอความช่วยเหลือด้านการเงิน เช่น ค่าเดินทาง ค่ารักษาพยาบาล และค่าธรรมเนียมต่างๆ เช่น ค่าภาษีของมีค่าของขวัญที่ส่งมาให้ ให้ตั้งข้อสันนิษฐานไว้ก่อนว่าอาจจะเป็นมิจฉาชีพ
- ลวงเอาข้อมูลส่วนตัว
มิจฉาชีพมักจะคุยและหลอกล่อให้เราเผยข้อมูลส่วนตัว หรือส่งเอกสารสำคัญให้ เพื่อนำไปใช้ในทางที่ผิดและสร้างความเสียหาย
นอกจากนี้ ประชาชนต้องระมัดระวังการเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวทางสื่อสังคมออนไลน์ การเช็คอิน การเปิดเผยกิจวัตรประจำวันที่มากเกินไป และไม่ส่งรูปภาพ คลิปวีดีโอ หรือการวีดีโอคอล ในลักษณะโป๊เปลือย ที่อาจนำไปสู่การแบลกเมล์เรียกค่าไถ่ รวมถึงระมัดระวังการนัดพบกับคนคุยออนไลน์ ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน อยู่เสมอ
ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพต้องทำอย่างไร ?
หากตกเป็นเหยื่อของ Romance Scam ให้เก็บหลักฐานการโอนเงิน และเก็บภาพข้อความการพูดคุยกับคนร้ายผ่านช่องทางต่าง ๆ เก็บชื่อบัญชี ภาพโปรไฟล์ และข้อมูลของคนร้ายไว้ให้มากที่สุด นำไปแจ้งความกับสถานีตำรวจเพื่อดำเนินคดีหรือโทรสายด่วน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 191 หรือสายด่วน ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 1599 แจ้งความออนไลน์ได้ทา
เว็บไซต์ www.thaipoliceonline.com ตลอด 24 ชั่วโมง โดยหลักฐานที่ต้องเตรียม มีดังนี้
- บัตรประจำตัวประชาชนเพื่อเป็นการแสดงตัวตนของผู้เสียหาย
- กรณีที่เสียหายต่อชื่อเสียง ให้เตรียมหลักฐานที่พบว่ามีการกระทำความผิด เช่น หน้าจอ หน้าเว็บไซต์ หน้าโปรแกรมไลน์ โปรแกรมเฟซบุ๊ก หรือหน้าเพจที่พบการกระทำความผิด พรินต์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์แล้วนำไปด้วย
- กรณีที่เสียหายต่อทรัพย์ ให้เตรียมหลักฐานที่พบการกระทำความผิด การหลอกลวง รวมทั้งเอกสารหลักฐานการโอนเงินต่าง ๆ ด้วย
หากผู้บริโภคท่านใดได้รับความเสียหายจากกรณีดังกล่าวหรือในลักษณะเดียวกัน สามารถแจ้งความดำเนินคดีกับสถานีตำรวจในพื้นที่โดยเร็วที่สุดหรือแจ้งความออนไลน์ได้ทางเว็บไซต์ www.thaipoliceonline.com หรือสามารถแจ้งเบาะแสมายังสภาองค์กรของผู้บริโภคได้ที่เบอร์สายด่วน 1502 หรือตามช่องทางด้านล่าง
- ร้องเรียนออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ tcc.or.th คลิกลิงก์ https://crm.tcc.or.th/?entryPoint=Portal&action=complain…
- ไลน์ออฟฟิเชียล (Line Official) : @tccthailand คลิกลิงก์ https://lin.ee/uhDyO1U
- อินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก (Facebook Inbox) : สภาองค์กรของผู้บริโภค
- อีเมล : complaint@tcc.or.th
- โทรศัพท์ : 02 239 1839 กด 1
ปัจจุบันจากตัวเลขของ ศูนย์บริหารรับแจ้งความออนไลน์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่มีการเก็บสถิติตัวเลขคดีหลอกให้รักและโอนเงินออนไลน์ (Romance scam) ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 จนถึงวันที่
31 มกราคม 2567 พบว่ามีคดีที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับ Romance scam จำนวน 3,323 คดี มีความเสียหายมากกว่า 1,154 ล้านบาท คิดเฉลี่ยความเสียหายคดีละประมาณ 34,752 บาท นับว่าเป็นการสูญเสียที่ไม่ควรเกิดขึ้นจากการหลอกลวงบนโลกออนไลน์
อ่านบทความอื่นๆ เพิ่มเติม คลิก