Monday, May 20, 2024
spot_imgspot_img

Top 5 This Week

spot_img

Related Posts

ผักเชียงดา คือ อะไร ทำไมเป็นสมุนไพรมากสรรพคุณ สู้ความดันเบาหวาน

ผักเชียงดา คือ อะไร ทำไมสู้กับความดันเบาหวานได้ ทำไมถึงเป็นสมุนไพรมากสรรพคุณ วันนี้เรามีคำตอบ ติดตามกันได้เลย 

ผักเชียงดา คือ

ผักเชียงดา คือ อะไร อัปเดต 2567 

มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้ข้อมูลไว้ดังนี้ ผักเชียงดา หรือผักจินดา ผักพื้นบ้านที่พบมากในภาคเหนือของประเทศไทย เป็นพืชในวงศ์ APOCYNACEAE เป็นไม้เถาเลื้อย ลำต้นเมื่อยังอ่อนมีเขียวเข้ม ใบเดี่ยว ออกคู่ตรงกันข้าม ใบรูปหอกกว้าง ปลายใบเรียวแหลม โคนใบโค้งสอบแคบโค้งมน หรือเว้าเล็กน้อย ขอบใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยงเป็นมัน ดอกออกเป็นช่อกระจุกจากซอกใบ ดอกย่อย กลีบเลี้ยงสีเขียว กลีบดอกสีขาว สีเหลืองอ่อน หรือเหลืองอมส้ม เกสรตัวผู้เป็นกระจุกแน่น ผล เมื่ออ่อนสีเขียว เมื่อแก่สีน้ำตาลคล้ำ มี 2-3 เมล็ด ใบอ่อนและยอดอ่อนของผักเชียงดาสามารถนำมาเป็นอาหาร ทั้งผักลวกจิ้มน้ำพริก ผัดใส่ไข่ หรือใส่ในแกง

โดยการศึกษาทางคลินิกในอาสาสมัครปกติ พบว่าเมื่อดื่มชาที่เชียงดา มีใบเชียงดาอบแห้ง 1.5 ก. ชงกับน้ำร้อน 150 มล. ทันที หรือที่เวลา 15 นาทีหลังการทดสอบน้ำตาล มีผลลดระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างมีนัยสำคัญ และฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดให้ผลแปรผันตรงกับขนาดที่ได้รับ และการรับประทานชาเชียงดา วันละ 1 แก้ว หลังอาหารทันที ต่อเนื่อง 28 วัน สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสูงสุด (peak plasma glucose concentration) ได้ดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับประทาน

อย่างไรก็ตามเมื่อทำการศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โดยให้ดื่มชาที่เตรียมจากใบเชียงดาแห้ง 1.2 ก. ชงในน้ำร้อน 150 มล. วันละ 3 ครั้ง หลังมื้ออาหาร 15 นาที ติดต่อกัน 8 สัปดาห์ ควบคู่ไปกับการรับประทานยาตามแพทย์สั่ง กลับไม่พบฤทธิ์รักษาเบาหวานของชาเชียงดา

จะเห็นได้ว่าการศึกษาฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดของผักเชียงดายังมีไม่มากนัก โดยเฉพาะการศึกษาในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน แต่ผักเชียงดามีแนวโน้มที่ดีที่จะใช้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลขั้นต้น อีกทั้งผักเชียงดาเป็นผักพื้นบ้านที่มีการรับประทานเป็นอาหารมาช้านาน และยังไม่ปรากฏรายงานความเป็นพิษจากการรับประทาน อย่างไรก็ตามหากผู้ป่วยเบาหวานที่รับประทานยาแผนปัจจุบันและต้องการรับประทานผักเชียงดา ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากอาจจะเสริมฤทธิ์กับยา จนทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไปได้

คุณค่าทางโภชนาการ

ยอดอ่อนและใบอ่อนของผักเชียงดามีรสขมอ่อนๆ และมีสารอนุมูลอิสระสูงมาก ในผักเชียงดาหนัก 100 กรัม ให้พลังงาน 60 แคลอรี มีน้ำประมาณ 87.9% วิตามินซี 153 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 5905 ไมโครกรัม วิตามินเอ 984 ไมโครกรัม แคลเซียม 78 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 98 มิลลิกรัม เส้นใยอาหาร 2.5 กรัม โปรตีน 5.4 กรัม ไขมัน 1.5 กรัม และคาร์โบไฮเดรต 8.6 กรัม

ประโยชน์และสรรพคุณของผักเชียงดา

  1. ช่วยเพิ่มกำลังในการทำงานหนัก
  2. เป็นยารักษาเบาหวาน
  3. ช่วยทำให้เจริญอาหาร
  4. ช่วยบำรุงสายตา
  5. แก้ตาฝ้าฟาง มีอาการเคืองตา
  6. ช่วยแก้หูชั้นกลางอักเสบ
  7. รักษาไข้ อาการหวัด ลดไข้
  8. แก้ไอ
  9. ช่วยขับเสมหะ
  10. ช่วยบรรเทาอาการภูมิแพ้
  11. บรรเทาอากาศหอบหืด
  12. แก้หลอดลมอักเสบ
  13. แก้ปอดอักเสบ
  14. ช่วยแก้โรคบิด
  15. ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร
  16. เป็นยาขับปัสสาวะ
  17. ช่วยขับระดูของสตรีช่วย
  18. แก้อาการบวมน้ำ
  19. เป็นยาแก้โรคผิวหนัง
  20. ช่วยต้านอนุมูลอิสระ
  21. ช่วยในการบำรุงสายตา
  22. ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
  23. รักษาอาการท้องผูก
  24. แก้ปวดแสบ ปวดร้อน ที่มาจากเริม
  25. แก้ปวดแสบ ปวดร้อน ที่มาจากงูสวัด

เมนูอาหาร

นิยมนำใบอ่อน ยอดและดอกของผักเชียงดามาลวกรับประทานร่วมกับน้ำพริกหรือตำมะม่วง ผัดใส่น้ำมันหอยหรือผัดใส่ไข่ เมนูที่นิยมกันมาก คือ แกงใส่ปลาแห้ง หรือนำมาแกงร่วมกับผักชนิดอื่น เช่น ผักฮ้วน หรือ ผักตำลึง แกงผักเชียงดาใส่ปลาย่าง มีส่วนประกอบดังต่อไปนี้

  1. ยอดและใบอ่อนของผักเชียงดา
  2. มะเขือเทศ ถ้าจะให้อร่อยควรใช้มะเขือเทศพันธุ์พื้นเมือง
  3. ปลาแห้ง
  4. น้ำพริกแกง ประกอบด้วย พริกแห้ง หัวหอม กระเทียม กะปิ
  5. ปลาร้า

อ่านบทความอื่นๆ เพิ่มเติม คลิก

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

Popular Articles