มีลูกยากเกิดจากอะไร เป็นคำถามหรือข้อสงสัยของหนุ่มสาวที่วางแผนมีลูกในหลายๆคู่ เกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะดังกล่าว โดยในครั้งนี้เรามาไขข้อสงสัยกัน
ภาวะ มีลูกยากเกิดจากอะไร อัปเดต 2567
ภาวะมีบุตรยาก หรือ ภาวะมีลูกยาก คืออุปสรรคต่อคู่สมรสที่วางแผนมีบุตร เนื่องจากหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะดังกล่าว สามารถรักษาได้ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ และเพื่อเข้ารับการรักษาที่ตรงจุด การทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็ค่อนข้างสำคัญ
ภาวะมีบุตรยาก คือ การที่คู่สมรสที่วางแผนมีบุตรและมีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมอโดยไม่คุมกำเนิด เป็นเวลาต่อเนื่องกันประมาณ 1 ปี แต่ก็ยังไม่มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น นั่นอาจเข้าข่ายภาวะมีบุตรยากของคู่สมรสคู่นั้น โดยสาเหตุอาจมาจากฝ่ายหญิง หรือบางกรณีก็อาจมาจากฝ่ายชาย
นอกจากนี้ การมีลูกยากสามารถหมายถึงหลายสิ่ง เช่น การตั้งครรภ์ที่ใช้เวลานานขึ้นจากปกติ, การมีอาการภาวะท้องนึ่งหรือแท้งเป็นระยะ, หรือปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการมีบุตร เช่น ภาวะที่อาจจะทำให้มีความยากลำบากในการตั้งครรภ์หรือการเจริญเติบโตของลูก ถ้าคุณกำลังประสบกับสถานการณ์เช่นนี้ การพูดคุยกับแพทย์หรือผู้ให้คำปรึกษาทางการแพทย์เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้ได้คำแนะนำและการดูแลที่เหมาะสมสำหรับคุณและลูกของคุณ
สาเหตุของภาวะมีบุตรยาก คืออะไร
สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากนั้นแบ่งออกเป็นสาเหตุหลักๆ ได้ 2 ประการ คือ
- ความผิดปกติทางระบบสืบพันธุ์
- พฤติกรรมที่เป็นอุปสรรค
ความผิดปกติทางระบบสืบพันธุ์ ส่งผลอย่างไร ?
ส่วนใหญ่แล้ว ผู้ที่มีบุตรยากมักมีความผิดปกติทางระบบสืบพันธุ์ ทำให้ไม่เกิดการตั้งครรภ์ตามธรรมชาติ สาเหตุนี้จะต้องได้รับการรักษาด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์เท่านั้น ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง ยกตัวอย่างความผิดปกติทางระบบสืบพันธุ์ เช่น รังไข่เสื่อม ท่อนำไข่ตีบหรือตัน เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เส้นลำเลียงน้ำเชื้ออสุจิโป่งพอง เป็นต้น
ความผิดปกติทางระบบสืบพันธุ์ เกิดจากอะไร
ความผิดปกติทางระบบสืบพันธุ์ อาจเกิดจากการรักษาโรคบางอย่าง เช่น การรักษาอาการต่อมลูกหมากโตด้วยวิธีการผ่าตัด การตัดมดลูกหลังได้รับอุบัติเหตุ การฉีดรังสีรักษามะเร็งทำให้รังไข่เสื่อม เป็นต้น
นอกจากนี้อาการป่วยบางอย่างก็ทำให้เกิดความผิดปกติทางระบบสืบพันธุ์ได้ เช่น ปีดมดลูกอักเสบที่ทำให้ท่อนำไข่ตีบหรือตัน การติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน เป็นต้น
สาเหตุสำคัญที่พบได้บ่อย ที่ส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางระบบสืบพันธุ์ ก็คืออายุที่เพิ่มมากขึ้น อาจทำให้ไข่ไม่ตกหรือผลิตอสุจิได้น้อยลง เป็นต้น ซึ่งความผิดปกติทางระบบสืบพันธุ์บางอาการสามารถรักษาด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ได้ ขณะที่บางอาการไม่สามารถรักษาได้ เช่น การได้รับการตัดมดลูก จะไม่สามารถรักษาภาวะมีบุตรยากได้ นอกจากนี้บางความผิดปกติยังอาจถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ด้วย เมื่อมีงานวิจัยบางชิ้นเผยให้เห็นว่าในผู้ชายที่ผลิตอสุจิได้น้อย มีบิดาที่ประสบปัญหาเดียวกัน ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่า สาเหตุของความผิดปกติทางระบบสืบพันธุ์ เกิดจาก
- การรักษาโรคบางอย่าง
- อาการป่วยบางอย่าง
- อายุที่เพิ่มมากขึ้น
- พันธุกรรม
พฤติกรรมที่เป็นอุปสรรค ส่งผลอย่างไร
สาเหตุส่วนหนึ่งของการมีบุตรยาก อาจมาจากพฤติกรรมบางอย่างที่เป็นอุปสรรค เช่น การดื่มเครื่องดื่มแอลกกอฮอล์เป็นประจำ การสูบบุหรี่เป็นประจำ หรือการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนที่มากเกินไป การพักผ่อนไม่เพียงพอ การไม่ออกกำลังกายทำให้น้ำหนักตัวเกิน เหล่านี้อาจส่งผลให้มีบุตรยากได้ เนื่องจากพฤติกรรมดังกล่าวส่งผลให้เกิดการตกไข่น้อยลง หรือไข่ไม่ตก รวมถึงการผลิตอสุจิที่น้อยลงด้วย
แต่สาเหตุที่มาจากพฤติกรรมที่เป็นอุปสรรค สามารถแก้ไขได้ด้วยการปรับพฤติกรรม ซึ่งถ้าหากลองปรับพฤติกรรมดูแล้ว ยังไม่สามารถมีบุตรได้ อาจต้องปรึกษาแพทย์เฉพาะทางโดยตรง
ปัญหาทางชีวภาพที่เกี่ยวกับภาวะมีบุตรยาก คืออะไรบ้าง
1.อสุจิไม่แข็งแรงหรือมีปริมาณน้อยเกินไป
ฝ่ายชายที่มีการผลิตอสุจิได้ไม่แข็งแรง มีรูปร่างที่ไม่ปกติ รวมถึงมีปริมาณน้อยเกินไป จะทำให้การปฏิสนธิมีปัญหาได้ เช่นหัวอสุจิมีขนาดเล็กเกินไป จนไม่สามารถเจาะผนังเซลล์ไข่เข้าไปผสมกับไข่ได้ รวมถึงอสุจิที่มีการเคลื่อนที่ช้า อาจมีปัญหาเรื่องการเดินทางไปถึงรังไข่ ทำให้ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้สำเร็จ สาเหตุมีหลายอย่าง อาทิ การใช้สารเคมี ความเครียด ความร้อน เป็นต้น สามารถรักษาได้ด้วยการทำ IVF หรือ ICSI เป็นต้น
2.ไข่ไม่ตก
หากผู้หญิงมีปัญหาไข่ไม่ตก ก็ทำให้มีบุตรยาก ต้องใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์เข้าช่วย เช่น การทำ IUI IVF และ ICSI ที่ช่วยกระตุ้นการตกไข่ ทำให้ไข่ตก และสามารถเกิดการปฏิสนธิกับอสุจิได้ในที่สุด ในส่วนของวิธีการรักษา แพทย์จะพิจารณาเป็นกรณีไป ว่าต้องรักษาแบบใด
3.ท่อนำไข่อุดตัน
ฝ่ายหญิงที่มีความผิดปกติที่ท่อนำไข่ หากมีการอุดตันก็จะทำให้อสุจิไม่สามารถเดินทางไปปฏิสนธิกับไข่ได้ เพราะต้องเดินทางผ่านทางท่อนำไข่ ในการรักษาภาวะมีบุตรยาก สามารถใช้วิธีทำ IUI ได้ หากท่อนำไข่ตีบหรือตันข้างเดียว แต่ถ้าอุดตันทั้ง 2 ข้างจะต้องใช้วิธีอื่น เช่น IVF หรือ ICSI ที่จะทำการดูดไข่ออกมาและปฏิสนธิกับอสุจิภายนอกร่างกาย
4.ความผิดปกติที่มดลูก
มดลูกเป็นอวัยวะที่สำคัญในการตั้งครรภ์ เนื่องจากเมื่อเกิดการปฏิสนธิระหว่างอสุจิและไข่จนเจริญเป็นตัวอ่อนแล้ว ตัวอ่อนจะฝังตัวที่มดลูก เพื่อเจริญไปเป็นทารกตามลำดับ หากมดลูกมีปัญหา เช่น เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ กล้ามเนื้อมดลูกหนา มดลูกโต เป็นต้น ก็จะทำให้การตั้งครรภ์เป็นไปได้ยาก และมีอัตราการแท้งสูง ต้องแก้ไขให้ตรงจุด อย่างปัญหาเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ชนิดไม่รุนแรง สามารถทำ IUI ได้ แต่ถ้าหากรุนแรงจะต้องใช้วิธีอื่น เช่น IVF หรือ ICSI
การแก้ไขปัญหา การมีบุตรยาก
การแก้ไขปัญหาภาวะมีลูกยากมีหลายวิธีและขึ้นอยู่กับสาเหตุที่เป็นหลักของปัญหานั้น ๆ ต่อไปนี้คือบางวิธีที่อาจช่วยในการแก้ไขปัญหามีลูกยาก:
- การรักษาปัจจัยที่เป็นสาเหตุ: หากมีปัจจัยทางสุขภาพที่ส่งผลต่อความยากลำบากในการตั้งครรภ์ เช่น โรคเบาหวานหรือโรคไต การรักษาโรคฐานเบื้องต้นและการควบคุมอาการสามารถช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์
- การตรวจสุขภาพแม่และลูก: การตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอและการตรวจวินิจฉัยปัญหาทางสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์อย่างระมัดระวังสามารถช่วยตรวจจับปัญหาและรับมือกับมันทันที
- การปรับเปลี่ยนรูปแบบชีวิต: การรักษาโรคสุขภาพที่ดี, การออกกำลังกายอย่างเหมาะสม, การลดความเครียด, การเลิกสูบบุหรี่, และการลดการบริโภคสารเคมีอันตรายอื่น ๆ สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการตั้งครรภ์
- การใช้ยา: ในบางกรณีแพทย์อาจสั่งให้ใช้ยาเพื่อช่วยรักษาปัญหาที่ส่งผลต่อการตั้งครรภ์ เช่น การใช้ยาเพื่อควบคุมระดับฮอร์โมนหรือการใช้ยาเสริมเพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์
- การรักษาทางอายุรกรรม: ในบางกรณีที่มีปัจจัยทางพันธุกรรมเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาภาวะมีลูกยาก การปรึกษาแพทย์ทางอายุรกรรมหรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการตั้งครรภ์เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสมจะมีความสำคัญ
สำหรับบางคนการรักษาปัญหามีลูกยากอาจเสร็จสิ้นด้วยการตั้งครรภ์และการคลอดลูกโดยปกติ แต่ในบางกรณีที่มีปัจจัยที่ซับซ้อนหรือปัญหาทางสุขภาพร้ายแรงมากขึ้น การรับการรักษาเสริมเช่น การใช้เทคโนโลยีช่วยการตั้งครรภ์หรือการรับการตั้งครรภ์และการคลอดโดยการช่วยเหลือจากทีมแพทย์อาจจำเป็นต้องใช้เพื่อความปลอดภัยและความสำเร็จในการตั้งครรภ์