Thursday, May 9, 2024
spot_imgspot_img

Top 5 This Week

spot_img

Related Posts

รู้จัก Super Aged Society เมื่อสังคมไทยกำลังก้าสู่สังคม สุดยอดผู้สูงอายุ

สังคมสูงวัยระดับสุดยอด หรือ Super Aged Society คือ มีประชากรสูงวัยมากกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนประชากรทั้งหมดในประเทศ

Super Aged Society คือ อัปเดต 2567 

กล่าว คือ เป็นสังคมที่มีสัดส่วนของประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่า 20% ของประชากรโดยรวมทั้งประเทศ

ประเทศที่พัฒนาแล้วเขาอยู่กันอย่างไรในสังคมสูงวัย ถึงไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยเกือบสมบูรณ์แล้ว แต่ก็มีอีกหลายประเทศที่เข้าสู่สังคมสูงวัยแบบ 100% ไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเขาก็จะมีวิธีการดูแลประชาชนของเขาในแบบต่างๆ ตัวอย่างเช่น ในประเทศสิงคโปร์มีการเพิ่มอายุเกษียณจาก 65 ปีเป็น 67 ปี หรือในเกาหลีที่ปรับการเกษียณอายุจาก 55 ปี ไปเป็น 60 ปี ส่วนญี่ปุ่นที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้วนั้น มีแพลนว่าในปี 2568 จะขยายการเกษียณอายุเป็น 65 ปี จากเดิม 62 ปี

ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์

กลับมาดูรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุในไทย จากรายงานของระบบสถิติทางการทะเบียนแจกแจงข้อมูลให้เห็นว่า ในปี 2022 ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์เป็นที่เรียบร้อย

เห็นได้จากจำนวนประชากรผู้สูงอายุที่มากถึง 12,116,199 คน (18.3%) ของประชากรทั้งหมดประมาณ 70,080,000 คน แบ่งเป็นเพศชาย 5,339,610 คน เพศหญิง 6,776,589 คน และแบ่งตามช่วงอายุของผู้สูงวัยได้เป็น 3 กลุ่มคือ

1) อายุ 60 – 69 ปี จำนวน 6,843,300 คน (ชาย 3,123,517), (หญิง 3,719,783)

2) อายุ 70 – 79 ปี จำนวน 3,522,778 คน (ชาย 1,533,624), (หญิง 1,989,136)

3) อายุ 80 ปีขึ้นไป จำนวน 1,750,121 คน (ชาย 682,451), (หญิง 1,067,670)

วิธีรับมือ Super Aged Society

ปัจจุบันประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์”แบบแล้วในปี 2565 และคาดการณ์ว่า ในอีก 15 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะกลายเป็น สังคมสูงอายุระดับสุดยอดsuper aged societyจะมีประชากรผู้สูงอายุสูงถึง 28% ของประชากรทั้งประเทศ การตั้งรับความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะมาถึงจึงเป็นเรื่องสำคัญเพื่อรับมือกับสังคมสูงอายุในอนาคต โดยสามารถทำได้ดังนี้คือ

1. ด้านสุขภาพ

ผู้สูงอายุจำเป็นต้องลดปัจจัยที่ทำให้ก่อโรคในอนาคตตั้งแต่วันนี้ เริ่มต้นด้วยอาหารการกินที่ต้องครบ 5 หมู่ ทานอาหารให้ตรงเวลา รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ลดการบริโภคแป้ง น้ำตาล ไขมันที่ไม่ดีต่อร่างกาย รวมไปถึงแอลกอฮอล์ และบุหรี่ ที่เป็นสาเหตุของโรคอันตรายต่างๆ มากมาย นอกจากจะต้องระมัดระวังโรคยอดฮิตอย่างเบาหวาน มะเร็ง หัวใจ แล้ว อย่าลืมว่ายังมีโรคสมองเสื่อม หรืออัลไซเมอร์ ให้ต้องกังวลอีกด้วย

2. ด้านสังคม

ในเมื่อผู้สูงอายุหลุดวงโคจรออกมาจากเพื่อนที่ทำงานแล้ว การสร้างสังคมที่เปรียบเสมือนชมรมผู้สูงอายุ จึงช่วยเยียวยาจิตใจของผู้สูงอายุได้ ซึ่งจะสื่อออกมาถึงสุขภาพทั้งร่างกาย และจิตใจ เป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ พึ่งพาตนเองได้ โดยการเข้าร่วมชมรมผู้สูงอายุประจำท้องถิ่น หรือโรงเรียนผู้สูงอายุ เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพของผู้สูงอายุ และส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสร้างสรรค์ประโยชน์แก่ชุมชนและสังคม

3. ด้านเศรษฐกิจ

การออมเงิน คือ เป็นสิ่งช่วยให้การใช้ชีวิตในช่วงวัยสูงอายุ มีความราบรื่น และสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยควรมีเงินเก็บสำหรับช่วงเวลาสุดท้าย นอกจากการเก็บเงินแล้ว คือกองทุนที่ลงทุนในระยะยาวและปลอดภัย เพราะการลงทุนมีความเสี่ยง จึงควรลงทุนในสินทรัพย์ที่ไม่ผันผวนมาก

อาชีพสำหรับผู้สูงอายุ อาจเป็นงานเบา ๆ เช่น ปลูกต้นไม้ เลี้ยงสัตว์ หรืองานอื่น ๆ ที่ไม่ต้องพึ่งแรงกายมาก เพื่อเป็นอีกช่องทางสร้างรายได้ในวัยสูงอายุ

เด็กเกิดใหม่น้อย ปัญหาของสังคมสูงวัย

หลายประเทศทั่วโลกต่างมีจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น สวนทางกับอัตราการเกิดที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด เช่นเดียวกันกับประเทศไทยที่มีจำนวนเด็กเกิดใหม่ค่อนข้างต่ำ เพราะมีเพียง 600,000 กว่าคนต่อปีเท่านั้น โดยสามปีให้หลัง ประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงวัยอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีเสียอีก

ปัจจัยหลักคงหนีไม่พ้นเรื่องของปัญหาเศรษฐกิจที่ทุกคนต่างต้องเผชิญ ทำให้ความมั่นคงทางการเงินเป็นเรื่องที่ส่งผลต่อการสร้างครอบครัวและการใช้ชีวิตของผู้คนเป็นอย่างมาก รวมถึงค่านิยมของผู้คนในสังคมที่เปลี่ยนไป ทำให้คนไม่อยากมีลูก และมีแนวโน้มว่าผู้สูงวัยจะใช้ชีวิตด้วยการอยู่เพียงลำพังมากขึ้น

มีการคาดการณ์ว่า ราวปี 2030 ไทยจะกลายเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอดเช่นเดียวกับญี่ปุ่น เพราะมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากขึ้นถึง 28 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนคนในประเทศ และมีการเพิ่มขึ้นของประชากรเพียง 0.18 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

เคล็ดลับ 4 ดี สูงวัยอย่างสตรอง

ด้วยเหตุนี้ กรมสุขภาพจิต จึงมี เคล็ดลับ 4 ดี สูงวัยอย่างสตรอง ดังนี้ 

ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างเต็มตัวแล้ว ตามข้อมูลจากมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย ที่ระบุว่า ปี 2560 ประเทศไทยมีประชากรสูงอายุ 11 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 17 โดยประเทศไทยกำหนดนิยาม “ผู้สูงอายุ” ไว้ใน พ.ร.บ. ผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 มาตรา 3 หมายถึง บุคคลซึ่งอายุเกิน 60 ปี บริบูรณ์ขึ้นไปและมีสัญชาติไทย

สำหรับสัดส่วนที่ใช้ในการแบ่งสังคมสูงวัยนั้น มีเกณฑ์การแบ่ง ดังนี้

1.สังคมสูงวัย (Aged Society) คือสังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปี ขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด

2.สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ (Complete Aged Society) คือสังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปี ขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด

3.สังคมสูงวัยระดับสุดยอด (Super Aged Society) คือสังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปี ขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมด

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) แนะนำเคล็ดลับการเตรียมตัวที่จะเข้าสู่การเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ ผ่านการพูดคุยกับ นพ.บรรลุ ศิริพานิช ประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย และในฐานะผู้สูงอายุแห่งชาติประจำปี 2562 เพื่อให้ทุกคนสามารถวางแผนและตั้งตัวแต่เนิ่นๆ ก่อนจะเข้าสู่สูงวัย โดยคุณหมอ เล่าว่า การจะเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ ต้องเตรียมตัวดี 4 ประการ ได้แก่ มีสุขภาพดี มีการทำงาน มีความมั่นคง และมีสิ่งแวดล้อมที่ดี

1.มีสุขภาพดี

– สุขภาพกาย ไม่เจ็บป่วย ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ

– สุขภาพจิต ไม่มีอาการวิกลจริต

– สุขภาพทางสังคม คุยกับผู้อื่น มีมนุษยสัมพันธ์กับคนรอบข้าง

– สุขภาพจิตปัญญา รู้ว่าอันไหนควรหรือไม่ควร

2.มีการทำงานดี

– ทำงานเพื่อตัวเอง คนทำงานต้องมีรายได้ โดยรายได้ต้องมีมากกว่ารายจ่าย และเก็บสะสมไว้

– ทำงานเพื่อผู้อื่น ให้ความช่วยเหลือที่สามารถทำได้

– ทำงานเพื่อสังคม เราอยู่ในสังคมต้องช่วยเหลือสังคม

– ทำงานเพื่อสิ่งแวดล้อม ไม่เบียดเบียนและช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม

3. มีความมั่นคงดี

– ความมั่นคงทางการเงิน ทุกวันนี้เงินเป็นปัจจัยสำคัญ ซึ่งความมั่นคงทางการเงินนี้ก็มีจากการทำงานเพื่อตนเอง และมีรายได้สะสม

– ความมั่นคงทางครอบครัว ต้องอยู่ในครอบครัวและต้องมีความรู้ในการสอนลูกหลานในสิ่งที่ดีงาม

4. มีสิ่งแวดล้อมที่ดี

– สิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ที่พักอาศัยเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะเป็นปัจจัยในการส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิต ถึงจะเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ

กิจกรรมสร้างสุขในชีวิตประจำวันที่นับว่าเป็นตัวช่วยในการสร้างเสริมเพื่อให้ผู้สูงอายุ พึ่งพาตนเองและใช้ชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข ดังนี้

1.กิจวัตรประจำวัน / การดูแลตนเอง

– การดูแลสุขอนามัยของตนเอง เช่น อาบน้ำ แต่งตัว

– การรับประทานอาหาร

– การเคลื่อนย้ายตัวเอง การเดิน การถัด การนั่งรถเข็น

– การกินยา

– การใช้อุปกรณ์ส่วนบุคคล เช่น แว่นตา เครื่องช่วยฟัง

2.การทำงาน

– การทำงานเพื่อเลี้ยงชีพ

– การทำงานบ้าน ดูแลหลาน

– การทำงานเพื่อสังคม

3.กิจกรรมยามว่าง / นันทนาการ

– ดูโทรทัศน์ ฟังเพลง ทำสวน รดน้ำต้นไม้ อ่านหนังสือ เขียนบันทึก เลี้ยงสัตว์ ออกกำลังกาย

ที่สำคัญและลืมไม่ได้ คือการออกกำลังกายและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยส่วนตัวคุณหมอเป็นคนชอบออกกำลังกายและมีวิธีในการรับประทานอาหารที่เน้นผักและผลไม้ นี่คงเป็นเคล็ดลับที่ทำให้คุณหมอแข็งแรงและมีอายุถึง 94 ปี นับเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพอีกท่านหนึ่งนั่นเอง

“เราต้องเตรียมของเราเอง อย่าหวังเพิ่งคนอื่น เราต้องทำของเราเองให้ได้” คุณหมอบรรลุ กล่าวทิ้งท้าย

อ่านบทความอื่นๆ เพิ่มเติม คลิก

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

Popular Articles