Thursday, May 9, 2024
spot_imgspot_img

Top 5 This Week

spot_img

Related Posts

โคกหนองนาโมเดล คือ อะไร ? 2567

แวดวงการเกษตรคงเคยได้ยินกับคำว่า โคกหนองนาโมเดล คือ อะไร ? 2567 แต่สำหรับหลายๆ คน คงเคยได้ยินผ่านๆ ตามรายงานข่าว โดยวันนี้เรามาไขข้อข้องใจกันว่า คืออะไร โดยเราได้รวบรวมมาให้หมดแล้ว ติดตามต่อกันได้เลย 

โคกหนองนาโมเดล คือ

โคกหนองนาโมเดล คือ อัปเดต 2567 

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) – สวก. ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ โคกหนองนาโมเดล ดังนี้ 

โคกหนองนาโมเดล คือ การพัฒนาจัดการพื้นที่ทางการเกษตร ซึ่งเป็นการผสมผสานของเกษตรทฤษฏีใหม่ร่วมกับภูมิปัญญาพื้นบ้านของไทยที่มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพธรรมชาติที่มีอยู่ในพื้นที่นั้น ๆ ซึ่งต้องบอกว่าชื่อเรียกนี้ เป็นการจัดการสภาพแวดล้อมที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ

โดยมนุษย์นำสิ่งที่มีอยู่นั้นมาส่งเสริมทำให้เกิดความสำเร็จในการทำเกษตรกรรมโดยเร็ว และเป็นระบบมากขึ้น ทั้งนี้ แต่ละคำของชื่อเรียกยังหมายถึงแนวทางการทำเกษตรแบบอินทรีย์ และการสร้างชีวิตที่มีความยั่งยืนอย่างที่สุด

การจัดการพื้นที่ซึ่งเหมาะกับพื้นที่การเกษตร ซึ่งเป็นผสมผสานเกษตรทฤษฎีใหม่ เข้ากับภูมิปัญญาพื้นบ้านที่อยู่อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติในพื้นที่นั้น ๆ โคก หนอง นา โมเดล เป็นการที่ให้ธรรมชาติจัดการตัวมันเองโดยมี มนุษย์เป็นส่วนส่งเสริมให้มันสำเร็จเร็วขึ้น อย่างเป็นระบบ ซึ่งโคก หนอง นา โมเดล ซึ่งเป็นแนวทางทำเกษตรอินทรีย์และการสร้างชีวิตที่ยั่งยืน โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้

1. โคก : พื้นที่สูง ดินที่ขุดทำหนองน้ำนั้นให้นำมาทำโคก บนโคกปลูก “ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง” ตามแนวทางพระราชดำริ ปลูกพืช ผัก สวนครัว เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา ทำให้พออยู่ พอกิน พอใช้ พอร่มเย็น เป็นเศรษฐกิจพอเพียงขั้นพื้นฐาน ก่อนเข้าสู่ขั้นก้าวหน้า คือ ทำบุญ ทำทาน เก็บรักษา ค้าขาย และเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย ปลูกที่อยู่อาศัยให้สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศ ซึ่งปกติแล้วได้มีการจำแนกการปลูกพืชตามแนวความสูงออกเป็น 5  ระดับ ได้แก่

  • ไม้หัวใต้ดิน อย่าง ขิง ข่า บุก มันมือเสือ กวาวเครือ ฯลฯ
  • ไม้เรี่ยดิน อย่าง ไม้เลื้อยต่าง ๆ ไม่ว่าจะ รางจืด พริกไทย ฯลฯ
  • ไม้เตี้ย ซึ่งเป็นไม้พุ่มเตี้ยที่ไม่ได้มีความสูงมากอยู่ใต้ไม้สูง และไม้กลางอย่าง มะเขือ พริก ติ้ว เหรียง ผักหวานบ้าน ฯลฯ
  • ไม้กลาง โดยจะเป็นต้นไม้ที่ไม่ได้สูงมาก ส่วนใหญ่เป็นไม้ผลที่สามารถเก็บกินได้ อย่าง มังคุด มะม่วง กระท้อน ขนุน สะตอ ไผ่ ฯลฯ
  • ไม้สูง จะเป็นไม้เรือนยอดสูงที่มีอายุยืนนาน อย่าง ยางนา ตะเคียน เต็ง รัง ฯลฯ

และเมื่อถามถึงวิธีการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง อันที่จริงก็ไม่ได้ยุ่งยาก โดยเริ่มต้นจากการนำไม้ที่โตไวอย่าง แค มะรุม ไม้ผล สะเดา กล้วย อ้อย รวมถึงพืชผักที่มีอายุสั้นมาปลูก เพื่อเป็นแหล่งสร้างอาหารให้กับคนในครอบครัว

หลังจากนั้น 1 – 2 ปี ก็เริ่มปลูกไม้ที่ใช้ในการก่อสร้างที่อยู่อาศัย เมื่อเติบโตจนมีร่มเงาให้พื้นที่ ก็ค่อยไปเริ่มปลูกบรรดาพืชสมุนไทย และในส่วนของพื้นที่ทำนาควรมีขนาดที่เหมาะสม

สามารถปลูกข้าวได้ในปริมาณเพียงพอต่อการกินภายในครัวเรือน ไม่ต้องไปซื้อให้เสียเงิน ต่อด้วยการขุดบ่อน้ำ ร่องน้ำเล็ก เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นของชั้นดิน เลี้ยงปลาไว้เป็นอาหาร เมื่อปลูกป่า 3 อย่าง ก็นำมาใช้ทำประโยชน์  4 อย่างได้ คือ ใช้ทำที่อยู่ ใช้เป็นเครื่องดื่มสมุนไพร ใช้เป็นเครื่องมือหัตถกรรม ใช้เป็นร่มเงา สร้างความเย็นสบายแก่ตัวบ้าน

2. หนอง : หนองน้ำหรือแหล่งน้ำ ขุดหนองเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้งหรือจำเป็น และเป็นที่รับน้ำยามน้ำท่วม (หลุมขนมครก) ขุด “คลองไส้ไก่” หรือคลองระบายน้ำรอบพื้นที่ตามภูมิปัญญาชาวบ้าน

โดยขุดให้คดเคี้ยวไปตามพื้นที่เพื่อให้น้ำกระจายเต็มพื้นที่เพิ่มความชุ่มชื้น ลดพลังงานในการรดน้ำต้นไม้/ทำฝายทดน้ำเพื่อเก็บน้ำเข้าไว้ในพื้นที่ให้มากที่สุด โดยเฉพาะเมื่อพื้นที่โดยรอบไม่มีการกักเก็บน้ำ น้ำจะหลากลงมายังหนองน้ำและคลองไส้ไก่ ให้ทำฝายทดน้ำเก็บไว้ใช้ยามหน้าแล้ง พัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ ทั้งการขุดลอก หนอง คู คลอง เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้ง และเพิ่มการระบายน้ำยามน้ำหลาก

การขุดจะมีลักษณะคดเคี้ยวออกไปตามพื้นที่ เพื่อเป็นการกระจายน้ำให้เต็ม ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น ลดพลังงานไม่ต้องไปรดน้ำต้นไม้ นอกจากนี้ ยังมีการทำเป็นฝายเอาไว้ทดน้ำ เพื่อให้สามารถเอาไปกักเก็บน้ำไว้ภายในพื้นที่นั้น ๆ ให้ได้มากที่สุด

เมื่อพื้นที่ที่อยู่โดยรอบไม่ได้มีการกักเก็บน้ำ น้ำก็จะไหลหลากลงมาภายในหนองน้ำ รวมถึงคลองไส้ไก่ ช่วยให้สามารถใช้ฝายกักเก็บไว้ใช้ยามหน้าแล้งได้ ทั้งยังมีการพัฒนาพื้นที่ อย่างการขุดลองหนอง คู คลอง เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้ง และระบายออกเมื่อน้ำไหลหลาก

3. นา : พื้นที่นานั้นให้ปลูกข้าวอินทรีย์พื้นบ้าน โดยเริ่มจากการฟื้นฟูดิน ด้วยการทำเกษตรอินทรีย์ยั่งยืน คืนชีวิตเล็ก ๆ หรือจุลินทรีย์กลับคืนแผ่นดินใช้การควบคุมปริมาณน้ำในนาเพื่อคุมหญ้า ทำให้ปลอดสารเคมีได้ ปลอดภัยทั้งคนปลูก คนกิน ยกคันนาให้มีความสูงและกว้าง เพื่อใช้เป็นที่รับน้ำยามน้ำท่วม ปลูกพืชอาหารตามคันนา

ถือเป็นพื้นที่ให้ปลูกข้าวอินทรีย์ตามแบบฉบับพื้นบ้าน ซึ่งจะมีการเริ่มต้นมากจากการพัฒนาฟื้นฟูที่ดิน อย่างการเลือกทำการเกษตรแบบอินทรีย์ยั่งยืน เพื่อคืนสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่เรียกว่าจุลินทรีย์กลับไปยังผืนดิน ช่วยควบคุมปริมาณน้ำที่มีอยู่ภายในนาให้สมบูรณ์ คุมหญ้าโตกำลังดี ปลอดสารเคมี ไม่เป็นอันตรายทั้งคนที่ปลูก รวมถึงคนที่กินด้วย นอกจากนี้ ยังมีการยกคันนา ให้มีความสูงและกว้าง เป็นการเปิดพื้นที่รับน้ำได้ ไม่เป็นภัยเมื่อมีน้ำไหลหลากมาท่วม สามารถปลูกพืชได้ตามคันนา

ประโยชน์ของโคกหนองนาโมเดล

ประโยชน์ของโคกหนองนาโมเดล คือ ช่วยให้เราประหยัดมากขึ้น เพราะสามารถปลูกพืชต่าง ๆ ไว้ในพื้นที่และสามารถใช้สอยได้ครอบคลุมทุกปัจจัย ช่วยลดความตึงเครียดด้านเศรษฐกิจ ลดความกังวลเรื่องรายรับในช่วงที่ติดขัดต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญยังไม่ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วม หรือความแห้งแล้งภายในพื้นที่

และทั้งหมดนี้ก็เป็นข้อมูลต่าง ๆ ของโคกหนองนาโมเดล ที่น่าสนใจอย่างมาก ที่จะช่วยให้เกษตรกรทุกคนได้รับประโยชน์อย่างที่สุด ใครยังไม่เคยลองนำไปปฏิบัติ จะนำไปทำดูก็สามารถทำได้เลยทันที รับรองว่าผลลัพธ์มีค่าแบบที่ไม่เคยคิดมาก่อน

1. ช่วยกักเก็บน้ำให้มีใช้ตลอดทั้งปี

โดยปกติ เกษตรกรมักจะอาศัยน้ำจาก เขื่อน หรือ อ่างเก็บน้ำ มาใช้ในการทำการเกษตร เป็นหลัก ทำให้เมื่อประสบภัยแล้ง ระบบชลประทานมีน้ำไม่เพียงพอ ก็มักจะประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ จนทำให้พืชผักล้มตาย ได้รับความเดือดร้อนเสมอ ๆ ซึ่งถ้าหากปรับพื้นที่ทางการเกษตร ให้เป็น โคกหนองนา แล้วละก็ จะช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้ เนื่องจากบนโคก ก็มีพืชหลายชนิด ๆ ที่มีรากหยั่งลึก สามารถอุ้มน้ำไว้ในดิน ในหนอง ขุดหลุมลึก สามารถกักเก็บน้ำได้ในช่วงฝนตก ส่วนนา คลองไส้ไก่ ก็สามารถกักเก็บน้ำไว้ได้ ก็จะทำให้มีน้ำใช้ตลอดทั้งปี ไม่ต้องคอยพึ่งพิงน้ำจากที่อื่น ๆ อีก

2. ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างพอเพียง

บนโคกก็ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ในหนองก็เลี้ยงปลา ไร่นาก็มีข้าว หัวคันนาก็มีพืชผักไว้เก็บกิน ทำให้เกษตรกรสามารถเก็บผลผลิต ไว้บริโภคในครัวเรือนได้อย่างไม่ขัดสน ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างพอเพียง โดยไม่ต้องพึ่งพิงทรัพยากรจากภายนอก หรือ มีความจำเป็นต้องใช้เงิน ในการซื้อข้าวปลาอาหาร แต่อย่างใด ตรงตามหลัก “พอกิน พอใช้ พออยู่ พอร่มเย็น” อันเป็นขั้นพื้นฐาน จากทฤษฎี 9 ขั้น สู่ความยั่งยืนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

3. สามารถเก็บผลผลิตขาย สร้างรายได้

หลังจากพอกิน พอใช้ พออยู่ พอร่มเย็นแล้ว หากมีผลผลิตเหลือ ก็สามารถเก็บผลผลิตขาย เพื่อสร้างรายได้ ช่วยให้เกษตรกรทำการเกษตรได้อย่างยั่งยืน และ มีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

4. ป้องกันน้ำท่วม

เมื่อที่อยู่อาศัยอยู่บนโคก พืชผักต่าง ๆ ก็ปลูกอยู่บนคันนาที่ยกสูง ทำให้หากฝนตกน้ำหลาก ก็จะช่วยป้องกันน้ำท่วม ลดการเกิดผลกระทบและความเสียหายต่อผลผลิต ทรัพย์สิน และ ชีวิตของคนในครอบครัวได้

อ่านบทความอื่นๆ เพิ่มเติม คลิก

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

Popular Articles